วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 4 07/08/2010







การแบ่งประเภทสื่อประกอบด้วย


1.ประสบการณ์ตรง
   เป็นประสบการณ์ที่ให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์โดยตรงจากของจริงสถานการณ์จริงหรือด้วยการกระทำของ
ตนเอง เช่นการจับต้องและการเห็นเป็นต้น


2.ประสบการณ์รอง
     เป็นการเรียนจากสิ่งใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุดซึ่งอาจเป็นของจำลองหรือสถานการณ์จำลองก็ได้


3.ประสบการณ์นาฎการหรือการแสดง
   เป็นการแสดงบทบาทสมมติหรือการแสดงละครเพื่อเป็นการจัดประสบการณ์ให้แกผู้เรียน


4.การสาธิต
   เป็นการกระทำประกอบคำอธิบายเพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้นๆ


5.การศึกษานอกสถานที่
   เป็นการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ต่างๆภายนอกห้องเรียนอาจเป็นการท่องเที่ยวเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ


6.นิทรรศการ
   เป็นการจัดการแสดงสิ่งของต่างๆเพื่อให้สาระประโยชน์และความรู้แก่ผู้ชม


7.โทรทัศน์
   เป็นสื่อการเรียนการสอนเพื่อให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรืออยู่ทางบ้านและใช้ส่งได้ทั้งระบบวงจรเปิดและวงจรปิดการสอนอาจเป็นการสอนสดหรือบันทึกวิดีโอ


8.ภาพยนตร์
   เป็นภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์บันทึกลงฟิล์มเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์ทั้งภาพและเสียงโดยใช้ประสาทตาและหู


9.การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง
   เป็นได้ทั้งรูปของแผ่นเสียงหรือเทปบันทึกเสียง


10.ทัศนสัญลักษณ์
   เช่นแผนที่ แผนสถิติหรือเครื่องหมายต่างๆแทนความเป็นจริงของต่างๆ


11.วจรสัญลักษณ์
   เป็นประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมเช่นตัวหนังสือในภาษาเขียนและเสียงของคำพูดในภาษาพูด

ตามแนวคิดของบรูเนอร์ ( Jerome s. Bruner )
  • กลุ่มการกระทำ ( Enactive )
  • กลุ่มภาพ ( Iconic )
  • กลุ่มนามธรรม ( Abstracs )





สรุปหลักการในการเลือกสื่อการสอน
  1. เลือกสื่อการสอนที่เพื่อสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้
  2. เลือกสื่อการสอนที่ตรงลักษณะของเนื้อหาของบทเรียน
  3. เลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน
  4. เลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับจำนวนของผู้เรียนและกิจกรรมการสอน
  5. เลือกสื่อการสอนที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
  6. เลือกสื่อการสอนที่มีลักษณะน่าสนใจและดึงดูดความน่าสนใจ
  7. เลือกสื่อการสอนที่มีวิธีการใช้งานเก็บรักษาและบำรุงรักษาได้สะดวก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น