วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ครั้งที่3 07/01/2010
อาจารย์ได้พูดถึงสื่อการเรียนการสอนการติดต่อให้ถึงกันชักนำให้รู้จักกันหรือติดต่อชักนำให้รู้จักกันสื่อคือเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆอาจจะเป็นวัสดุเครื่องมือหรือกิจกรรมและวางแผนในเนื้อหาของหลักสูตรต่างๆสื่อเป็นพาหะที่จะนำสารหรือความรู้ไปยังผู้เรียน สื่อทำให้เข้าถึงบทเรียนได้ง่ายขึ้น
ทฤษฎีของบรูเนอร์ (Bruner)
ทฤษฏีเกี่ยวกับการสอนของบรูเนอร์
( Bruner’s Theory of Instruction)
Jerome S. Bruner เป็นผู้ที่มีความเห็นว่าในการจัดการเรียนการสอนนั้น ครูสามารถช่วยจัดประสบการณ์เพื่อช่วยให้เด็กเกิดความพร้อมได้ โดยไม่ต้องรอให้เด็กพร้อมตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นการเสียเวลานั้นหมายความว่าตามความคิดเห็นของบรูเนอร์แล้ว ความพร้อมเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดเร็วขึ้นได้
1.หลักการสำคัญบรูเนอร์ได้เสนอว่าในการจัดการศึกษานั้น ควรที่จะได้คำนึงถึงทฤษฏีพัฒนาการว่าเป็นตัวเชื่อมระหว่าง ทฤษฏีความรู้ และทฤษฏีการสอน ( A theory of development must be link both to a theory of instruction) ซึ่งหมายความว่า ทฤษฏีพัฒนาการจะเป็นตัวกำหนดเนื้อหา (knowledge) และวิธีการสอน (instruction)ในการที่จะนำเนื้อหาใดมาสอนเด็กนั้นควรพิจารณาดูว่าในขณะนั้นเด็กมีพัฒนาการอยู่ในระดับใด มีความสามารถเพียงใด เราก็ปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกับความสามรถของเด็กที่จะเรียนหรือที่จะรับรู้ได้ โดยใช้วิธีการให้เหมาะสมกับเด็กในวัยนั้น ดังนั้นเราก็สามรถสอนให้เด็กเกิดความพร้อมได้โดยไม่ต้องรอ ดังที่บรูเนอร์ได้กล่าวว่า “เราจะสามารถสอนวิชาใดๆก็ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้วิธีการที่เหมาะสมให้กับเด็กคนใดคนหนึ่งในระดับอายุใดก็ได้...” any subject can be taught effectively in some intellectually honest formto any child at any stage of development (1960)
ซึ่งความพร้อมในที่นี้ของบรูเนอร์หมายถึงความสามารถที่เด็กจะเรียนทักษะอย่างง่ายๆได้ก่อนซึ่งทักษะนี้เป็นพื้นฐานของทักษะที่ยากต่อไป ซึ่งบรูเนอร์ได้กล่าวไว้ว่า...one teaches readiness or provides opportunities for its nurture; one does not simply wait for it. Readiness, in these terms, consists of mastery of those simple skills that permit one to reach higher skills’
บรูเนอร์มองเห็นว่าในการจัดการศึกษานั้น ควรที่จะทำให้เนื้อหาวิชามีความต่อเนื่องกัน ถ้าเราทราบว่าเนื้อหาวิชาใดเป็นสิ่งจำเป็นที่เด็กจะต้องเรียน หรือจะต้องใช้เมื่อตอนโต ก็ให้รีบนำเนื้อหาวิชานั้นมาสอนให้เด็กตั้งแต่ที่เขายังเล็กๆ โดยที่ปรับเนื้อหาวิชานั้นให้เหมาะกับความสามารถในการคิด หรือการรับรู้ของเด็ก หรือใช้ภาษาที่เด็กจะเข้าใจได้ ดังนั้น เราก็สามารถนำเนื้อหาวิชาใดๆมาสอนกับเด็กในระดับอายุเท่าใดก็ได้ ถ้ารู้จักใช้วิธีการที่เหมาะสม
ซึ่งจากความคิดนี้ได้เสนอว่าในการจัดการเรียนการสอนควรมีลักษณะเป็น “spiral curriculum” คือ การจัดเอาวิชาให้มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ และมีความลึกซึ่งซับซ้อนและกว้างขวางออกไปตามประสบการณ์ของผู้เรียน เรื่องเดียวกันอาจเรียนตั้งแต่ชั้นประถมจนถึงมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นคณิตศาสตร์หรือฟิสิกส์ก็เรียนได้ทั้งสิ้น เช่น เรื่องเกี่ยวกับ “เซ็ท” เด็กประถมก็เรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ในลักษณะที่เป็นรูปธรรม นิสิตในมหาวิทยาลัยก็เรียนเรื่องนี้ แต่ในลักษณะที่เป็นนามธรรมที่ลึกซึ้งเหมาะสมกับระดับของผู้เรียน สำหรับวิชาฟิกสิกส์ บรูเนอร์ได้ยกตัวอย่างเกี่ยวกับ “ Snell’s law” ซึ่งเป็นกฎว่าด้วยเรื่อง “แรงกดของแสง” ซึ่งเขาได้ยกตัวอย่างเกี่ยวกับการถ่ายรูปว่า การทีถ่ายรูปติดนั้นเป็นเพราะแรงกดจากแสง หรือว่าไม่เกี่ยวข้องกับแรงกดจากแสงเลย
บรูเนอร์กล่าวว่าเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อนอย่างนี้สามารถอธิบายให้เด็กอายุ 7 ขวบ เข้าใจได้ และเขาได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยใช้ลูกบอลสองลูกเพื่อที่จะอธิบายว่าถ้าวัตถุที่เคลื่อนที่ไปกระทบวัตถุที่นิ่ง มั่นจะผ่านไปด้วยแรงซึ่งเนื่องมาจากอัตราเร็วที่ไปกระทบวัตถุนั้นๆนอกจากนั้นบรูเนอร์กล่าวว่าการที่เขากล้ายืนยันว่าเด็กเล็กๆ ก็สามารถเรียนเกี่ยวกับกฎของ Snell law wfhoyho เพราะเขาเคยพบในวัยเด็ก preoperation ซึ่งมีคำถามเกี่ยวกับการสร้าง “กังหันรมแสง” เพื่อวัดแรงกดจากแสงว่า กังหันนั้นควรจะเป็น “กังหันร้อน” หรือ “กังหันเย็น” ในเมื่อแสงจากดาวนั้นเย็น ( Hall, 1970)
2.ความคิดของบรูเนอร์เกี่ยวกับทฤษฎีพัฒนาการ
ทฤษฎีพัฒนาการของบรูเนอร์ เป็นทฤษฎีที่คู่ขนานกับทฤษฎีพัฒนาการของเปียเจท์ โดยที่
บรูเนอร์ศึกษาค้นคว้าโดยที่ยึดขั้นต่างๆ ของพัฒนาการของเปียเจท์เป็นหลัก
บรูเนอร์ได้เสนอว่า พัฒนาการทางสติปัญญาของคนประกอบด้วย 3 ลักษณะ คือ
1. Enactive representation ซึ่งเปรียบได้กับ sensorimoter ของเปียเจท์
2. Iconic representation ซึ่งเปรียบได้กับ concrete operations ของเปียเจท์
3. Symbolic representation ซึ่งเปรียบได้กับ formal operations ของเปียเจท์
3.ข้อแตกต่างระหว่างทฤษฎีของเปียเจท์และบรูเนอร์
1. เปียเจท์มองเห็นว่าพัฒนาการทางสมองของเด็กมีขั้นตอนซึ่งขึ้นอยู่กับอายุ กำหนดลงไปเลยว่าเด็กในวัยใดจะมีพัฒนาการทางสมองในเรื่องใด บรูเนอร์มิได้คำนึงถึงอายุ เห็นว่ากิจกรรมต่างๆที่เด็กทำอันสืบเนื่องมาจากพัฒนาการทางสมองที่เกิดในช่วงแรกของชีวิต คนก็ยังนำไปใช้ในการแก้ปัญหาในช่วงหลังๆ ของชีวิตอีกเช่นกัน มิได้แบ่งเป็นช่วงๆ ดังเช่นของเปียเจท์
2. เปียเจท์คำนึงถึงพัฒนาการทางสมองในแง่ของความสามารถในการกระทำสิ่งต่างๆ ในแต่ละวัย แต่บรูเนอร์คำนึงถึงในแง่ของกระบวนการ (process) ที่ต่อเนื่องไปตลอดชีวิต
3. บรูเนอร์เน้นความสำคัญของสิ่งแวดล้อม ว่าสิ่งแวดล้อมบางอย่างจะทำให้พัฒนาการทางสมองช้าลงหรือหยุดชะงักลง และสิ่งแวดล้อมบางอย่างจะช่วยให้พัฒนาการทางสมองเป็นไปอย่างรวดเร็ว
4.พัฒนาการทางสมองของบรูเนอร์
เน้นที่การถ่ายทอดประสบการณ์ด้วยลักษณะต่างๆดังนี้
1.Enactive representation
ตั้งแต่แรกเกิดจนอายุประมาณ 2 ขวบ เป็นช่วงที่เด็กแสดงให้เห็นถึงความมีสติปัญญาด้วยการกระทำ และการกระทำด้วยวิธีนี้ยังดำเนินต่อไปเรื่อยๆ เป็นลักษณะของการถ่ายทอดประสบการณ์ด้วยการกระทำซึ่งดำเนินต่อไปตลอดชีวิต มิได้อยุดอยู่เพียงในช่วงอายุใดอายุหนึ่ง
บรูเนอร์อธิบายในแง่ที่ว่า เด็กใช้การกระทำแทนสิ่งต่างๆเพื่อแสดงห้เห็นถึงความรู้ความเข้าใจ เขาได้ยกตัวอย่างจากการศึกษาของเปียเจท์ ในกรณีที่เด็กเล็กๆนอนอยู่ในเปลและเขย่ากระดิ่งเล่น ขณะที่เขย่าบังเอิญทำกระดิ่งตกข้างเปล เด็กจะหยุดนิดหนึ่งแล้วยกมือขึ้นดู เด็กทำท่าประหลาดใจและเขย่ามือเล่นต่อไป
จากการศึกษานี้บรูเนอร์ให้ข้อแนะว่า การที่เด็กเขย่ามือต่อไปโดยที่ไม่มีกระดิ่งนั้น เพราะเด็กคิดว่ามือนั้นคือกระดิ่ง และเมื่อเขย่ามือก็จะได้ยินเสียงเหมือนเขย่ากระดิ่ง นั้นคือเด็กถ่ายทอดสิ่งของ (กระดิ่ง) หรือประสบการณ์ ด้วยการกระทำ ตามความหมายของบรูเนอร์
เกี่ยวกับเรื่องนี้บรูเนอร์ได้ให้ความเห็นว่า ในชีวิตประจำวันของเรานั้นบางครั้งจะพบว่าคนโต ยังใช้วิธีการแก้ปัญหาด้วยการกระทำซึ่งให้ผลดีกว่าการอธิบายด้วยคำพุด เช่น การสอนคนให้ขี่จักรยาน หรือเล่นเทนนิส หรือการกระทำอื่นๆอีกหลายอย่าง เราจะพบว่าวิธีที่ดีที่สุดคือ แสดงให้ดูเป็นตัวอย่างซึ่งจะได้ผลดีกว่าการอธิบายเพราะเราจะพบว่าเป็นการยากเหลือเกินที่จะอธิบายให้ฟังเป็นขั้นตอนและบางครั้งก็ไม่สามารถหาคำพูดมาอธิบายได้ เพื่อให้คนมองเห็นภาพแต่ถ้าเรากระทำให้ดู (acting) โดยมิต้องใช้คำพูดอธิบาย ผู้เรียนจะเข้าใจทันที ดังนั้น บรูเนอร์จึงมิได้แบ่งพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจให้หยุดอยู่เพียงในระยะแรกของชีวิตเท่านั้น เพาระถือว่าเป็นกระบวนการต่อเนื่อง คนจะนำมาใช้ในช่วงใดของชีวิตก็ได้
2. Iconic representation
พัฒนาการทางความคิดในขั้นนี้อยู่ที่การมองเห็นและการใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ
จากตัวอย่างของเปียเจท์ดังกล่าวแล้ว เมื่อเด็กอายุมากขึ้นประมาณ 2-3เดือน ทำของเล่นตกข้างเปลเด็กจะมองหาของเล่นนั้น ถ้าผู้ใหญ่แกล้งหยิบเอาไป เด็กจะหงุดหงิดหรือร้องไห้เมื่อมองไม่เห็นของ บรูเนอร์ตีความว่า การที่เด็กมองหาของเล่นและร้องไห้ หรือแสดงอาการหงุดหงิดเมื่อไม่พบของ แสดงให้เห็นว่าในวัยนี้เด็กมีภาพแทนในใจ (iconic representation) ซึ่งต่างจากวัย enactive เด็กคิดว่าการสั่นมือกับการสั่นกระดิ่งเป็นของสิ่งเดียวกัน เมื่อกระดิ่งตกหายไป ก็ไม่สนใจ แต่ยังคงสั่นมือต่อไป
การที่เด็กสามารถถ่ายทอดประสบการณ์หรือเหตุการณ์ต่างๆด้วยการมีภาพแทนในใจ แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจซึ่งจะเพิ่มขึ้นตามอายุ เด็กโตจะยิ่งสามารถสร้างภาพในใจได้มากขึ้น เช่น การทดลองของบรูเนอร์ (1964) กับเด็กวัย 5-7 ขวบโดยให้จัดเรียงลำดับแก้วซึ่งมีขนาดต่างๆกัน 9 ใบ
การทดลอง
ครั้งแรกบรูเนอร์ให้เด็กดูภาพการจัดแก้ว 9 ใบ ดังแสดงในรูปต่อจากนั้นหยิบแก้วออกทีละแถว และให้เด็กจัดเองให้เหมือนเดิมจากนั้นหยิบแก้วทั้ง 9 ใบออกจากตะแกรงและให้เด็กจัดให้เหมือนเดิมปรากฏว่าเด้ก 5 ขวบ และ 7 ขวบ สามารถทำได้ ความแตกต่างระหว่างเดก 2 วัยนี้คือ เมื่อบรูเรนอร์ให้เรียงสลับ โดยให้เริ่มจากใบใหญ่ให้อยู่ทางซ้ายมือ ปรากฏว่าเด็กวัย 5 ขวบเริ่มต้นได้อย่างถูกต้อง แต่แล้วก็งง ในที่สุดจัดออกมาเหมือนแบบที่ให้ดูตั้งแต่แรก ส่วนเด็กวัย 7 ขวบนั้นสามารถเรียงสลับได้อย่างถูกต้อง บรูเนอร์จึงสรุปว่า การเกิดภาพในใจซึ่งแสดงให้เห็นถึงความรู้ความเข้าใจนั้นจะเพิ่มขึ้นตามอายุทั้งนี้เพราะเด็กรู้จักที่จะถ่ายทอดประสบการณ์ออกมาเป็นสัญลักษณ์ ( symbolic)
3. Symbolic representation
หมายถึง การถ่ายทอดประสบการณ์หรือเหตุการณ์ต่างๆโดยการใช้สัญลักษณ์หรือภาษา ซึ่งภาษาเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความคิด ขั้นนี้เป็นขั้นที่บรูเนอร์ถือว่าเป็นขั้นสูงสุดของพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจ เด็กสามารถคิดหาเหตุผล และในที่ สุดจะเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ และสามารถแก้ปัญหาได้ บรูเนอร์มีความเห็นว่าความรู้ความเข้าใจภาษามีพัฒนาการขึ้นมาพร้อมๆกัน
สรุป
บรูเนอร์มีความเห็นว่า คนทุกคนจะมีพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจ โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า acting, imaging และ Symbolizimg เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องไปตลอดชีวิต มิใช่ว่าเกิดขึ้นเพียงช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะแรกๆของชีวิตเท่านั้น
5. ความคิดเห็นของบรูเนอร์ที่มีผลต่อการศึกษา
ความคิดของบรูเนอร์มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาเช่นเดียวกับเปียเจท์
1. ทำให้ตระหนักถึงการจัดวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการสอนให้กับเด็กเล็กๆ โดยเฉพาะวัสดุอุปกรณ์ประเภทกระตุ้นการกระทำ ( enactive ) และประเภทที่รับรู้ง่ายเพื่อช่วยสร้างภาพในใจ ( image หรือ iconic )
2. เน้นความสำคัญของผู้เรียน ว่าจะต้องเป็นผู้ที่มีบทบาท ได้คิดค้นกระทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
( active ) ดังนั้น จึงมีการส่งเสริมให้มีการเรียนแบบ discovery learning
3. ทำให้เข้าใจความคิดของเด็ก ( แม้จะไม่ละเอียดถี่ถ้วนเท่าเปียเจท์ )
4. บรูเนอร์เป็นผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน เพื่อจะพัฒนาสติปัญญาของเด็กมากว่าเปียเจท์ เป็นผู้ที่เห็นว่า เราจะสามารถจัดการสอนเนื้อหาวิชาใดๆให้เด็กในช่วงใดของชีวิตได้ถ้ารู้จักเลือกวิธีการที่เหมาะสม จากความเชื่อเช่นนี้ ทำให้เขาพยายามที่จะแสดงให้เห็นว่าเด็กเล็กๆ สามารถเรียนเนื้อหาวิชาต่างๆ โดยการมีประสบการณ์กับการสอนชนิด nonverbal โดยไม่ต้องใช้คำพูดอธิบาย ดังนั้น จึงได้สร้างชุดการเรียนชนิดที่เรียกว่า “ nonverbal instruction packages “ ขึ้นสอน concept ต่างๆให้กับเด็กเล็กๆ
5. บรูเนอร์มีความเห็นว่าในการจัดการเรียนการสอนนั้น จะต้องคำนึงถึงทฤษฏีความรู้ความเข้าใจ และทฤษฏีการสอน เขาได้เน้น interaction ระหว่างผู้สอนและผู้เรียนโดยเน้นให้เห็นว่าพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจของนักเรียนจะเป็นไปได้ด้วยดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับการจัดสิ่งแวดล้อมของครู
6. ขณะนี้ บรูเนอร์กำลังศึกษาวิจัยกับเด็กเล็กเกี่ยวกับเรื่องธรรมชาติของทักษะที่ง่ายที่สุดซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำหรับการเรียนรู้ในขั้นต่อไป
6.หลักการสอนบรูเนอร์ ( 1966 ) กล่าวว่า ทฤษฏีการสอนใดๆ ก็ตามควรประกอบด้วยคุณลักษณะ 4ประการ ซึ่งข้อเสนอแนะของเขามีคุณค่าอย่างใหญ่หลวงต่อการวางแผนการสอนในปัจจุบัน
1. ทฤษฏีการสอนควรจะบอกให้ทราบว่าเด็กวัยก่อนเรียนควรจะมีประสบการณ์อะไรที่จะเป็นพื้นฐานสำหรับการเรียนในโรงเรียนต่อไปเพื่อครูจะได้นำประสบการณ์นั้นมาใช้ในการสอน
2. ทฤษฏีการสอนควรบอกให้ทราบว่า จะจัดโครงการของความรู้อย่างไรที่จะทำให้เด็กเข้าใจโดยง่าย ซึ่งในการจัดนั้นจะต้องคำนึงถึงลักษณะทั้ง 3 ของการแก้ปัญหาของเด็กด้วย คือ 1) การใช้การกระทำ 2) การสร้างภาพในใจ และ 3) การใช้สัญลักษณ์
3. ทฤษฏีการสอนควรจะบอกถึงลำดับขั้นของการเสนอเนื้อหาและใช้วัสดุอุปกรณ์ ซึ่งต้องคำนึงถึงลักษณะทั้ง 3 ของการแก้ปัญหาของเด็กดังกล่าวด้วย ซึ่งบรูเนอร์ได้เสริมว่าไม่มีลำดับขั้นใดจะมีประสิทธิภาพสำหรับเด็กทุกคน ครูจะต้องคำนึงถึงทั้งลักษณะของวัสดุอุปกรณ์นั้นๆ และความแตกต่างระหว่างบุคคล
4. ทฤษฏีการสอนควรจะบอกว่าจะใช้การให้รางวัลและการลงโทษอย่างไรและเมื่อไร ซึ่งถือว่าเป็นจุดสำคัญ
ท้ายสุดที่บรูเนอร์ได้สรุปให้เห็นว่า พัฒนาการทางสติปัญญานั้นขึ้นอยู่กับสัมพันธภาพระหว่างเนื้อหาสาระ ครูและผู้เรียน มิใช่เป็นเพียงการให้ผู้เรียนจำเนื้อหาสาระได้เท่านั้น แต่ครูจะต้องช่วยจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้รับเนื้อหาสาระซึ่งทำให้พัฒนาความรู้ใหม่
ครั้งที่ 2 06/24/2010
1.อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับสื่อเรื่งราวเกี่ยวกับสื่อ เช่น จักรยาน บล็อกเป็นสื่อเป็นจุดหมายปลายทางการเรียนสื่อโดยการทำบล็อก และอาจารย์ได้
พูดสรุปถึงนิยามสื่อคืออะไร
2.อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน และตั้งคำถามเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยและให้เพื่อนในกลุ่มช่วยกันคิดคำตอบและแบ่งหน้าที่กันว่าใครจะเป็นประธาน
รองประธาน กรรมการและเลขา มีการแบ่งงานกันภายในกลุ่ม
3.อาจารย์ได้ให้การบ้านให้หาทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยอ่านและโพสต์ใส่บล็อค
วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553
เริ่มเรียนวันแรกครั้งที่1 06/17/2010
วันนี้เปิดเทอมเรียนเป็นวันแรกอาจารย์ได้สั่งงานให้ทำ
1.ทำสมุดเล่มเล็กๆเป็นชื่อ
2.ให้คิดกันตั้งชุมนุมการศึกษาปฐมวัยและเลือกชมรมเอกเพราะจะได้มีเงินหมุนเวียนในเอก
3.อาจาร์ให้สร้างบล็อคส่งงานแทนการใช้กระดาษและลิงค์ของเพื่อนต่อๆกันมา
1.ทำสมุดเล่มเล็กๆเป็นชื่อ
2.ให้คิดกันตั้งชุมนุมการศึกษาปฐมวัยและเลือกชมรมเอกเพราะจะได้มีเงินหมุนเวียนในเอก
3.อาจาร์ให้สร้างบล็อคส่งงานแทนการใช้กระดาษและลิงค์ของเพื่อนต่อๆกันมา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)