วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 7 07/29/2010

วันนี้อาจารย์ได้ให้อ่านชีทเกี่ยวกับเกมการศึกษาและอาจารย์ได้ออกไปทำธุระ เมื่ออาจารย์กลับมาถึงห้องเรียนก็ได้อธิบายเกี่ยวกับเกมการศึกษาวิธีการเล่นความเหมาะสมระหว่างเด็กกับเกมการศึกษาว่าเกมนี้จะช่วยพัฒนาเด็กได้ในทางด้านใดบ้างและได้สั่งงานให้คิดเกมการศึกษามาคนละหนึ่งเกม ห้ามซ้ำกับตัวอย่างเกมในชีทและได้พูดถึงการไปทัศนศึกษาที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี วันที่ 17-18 สิงหาคม 2553

เกมการศึกษานี้ชื่อว่าเกมจับภาพโครงร่างของผลไม้

เนื้อหาของเกม
  • เกมจับภาพโครงร่างของผลไม้เป็นเกมที่สอนให้เด็กรู้จักรูปทรงของผลไม้รู้จักสังเกตเปรียบเทียบจำแนกความเหมือนของรูปภาพและความแตกต่างของรูปภาพทำให้เด็กได้ฝึกประสาทสัมพันธ์ระหว่างประสาทตาและกล้ามเนื้อมือ
จดมุ่งหมาย
  • เพื่อพัฒนาสติปัญญาของเด็กทำให้เด็กรู้จักการสังเกตจำแนกสิ่งของฝึกการตัดสินใจและรู้จักการใช้เหตุผลการแก้ปัญหาการเข้าร่วมสังคมกับกลุ่มเพื่อนรู้จักการแบ่งปันกันเพราะเกมเกมนี้สามารถเล่นกันได้หลายคนเพื่อให้เด็กช่วยกันคิด
วิธีการเล่น

  • ให้จับคู่โครงร่างของผลไม้ที่คล้ายคลึงกัน


วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 6 07/22/2010

เกมการศึกษา

ความสำคัญ
  • ทำให้ที่เป็นสิ่งนามธรรมให้เป็นรูปธรรม
  • ได้รับประสบการณ์ตรงจำได้นาน
  • รวดเร็ว,เพลิดเพลิน,เข้าใจง่าย
ลักษณะของสื่อที่ดี
  • ต้องมีความปลอดภัย
  • ประโยชน์ที่เด็กได้รับเหมาะสมกับความสามารถของเด็กความสนใจ
  • ประหยัด
  • ประสิทธิภาพ
หลักการเลือกสื่อฯ
  • คุณภาพดี
  • เด็กเข้าใจง่าย
  • เลือกให้เหมาะสมกับสภาพของศูนย์
  • เหมาะสมกับวัย
  • เหมาะสมกับเวลาที่ใช้
  • เด็กได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม
  • ถูกต้องตามเนื้อหา,ทันสมัย
  • เด็กได้คิดเป็นทำเป็นกล้าแสดงออก
การประเมินใช้สื่อ
  • สื่อทำให้เด็กเกิดความรู้เพียงใด
  • เด็กชอบสื่อนั้นเพียงใด
  • สื่อช่วยสอนให้ตรงจุดประสงค์
หุ่นไม้ไอศกรีม
  • ระบายสีที่รูปภาพ
  • ตัดรูปที่ระบายสีแล้วติดลงกระดาษแข็ง
  • ตัดกระดาษแข็งให้เรียบร้อย
  • ติดตัวตุ๊กตาที่ไม้ไอศกรีม
  • เสร็จสมบูรณ์
การบ้าน
  1. ดูเกมส์การศึกษาว่ามีเกมส์อะไรบ้างมีความหมายว่าอะไร

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 5 07/15/2010





นำเสนอสื่อ

          วันนี้ได้นำเสนอสื่อคือ ชนิดของผลไม้หรือผลไม้จำลอง

     สื่อชนิดนี้เป็นสื่อประสบการณ์รองคือการจำลองชนิดของผลไม้ทำให้เด็กรู้จักได้ง่ายและสามารถเก็บไว้ได้นานโดยที่ไม่ต้องนำผลไม่จริงมาสอนเพราะอาจจะเก็บไว้ได้ไม่นาน สื่อชนิดนี้เหมาะสำหรับเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป เด็ก 2 ขวบก็สามารถเล่นได้แต่อาจจะอันตรายต่อเด็กเพราะสีที่ผลไม้จำลอง

      สื่อชนิดนี้อยู่ได้หลายมุม อาทิ มุมเสรี มุมบทบาทสมมติ มุมคณิตศาสตร์ เช่นอยู่ในมุมครัว มุมขายผลไม้ทำให้เด็กรู้จักการขาย การคิดเงิน มุมร้านอาหารที่มีแต่ผลไม้ มุมคณิตศาสตร์ทำให้เด็กรู้จักรูปทรงผลไม้ได้แยกแยะชนิดของผลไม้รูปทรงของผลไม้ รู้จักสีของผลไม้ ได้นับจำนวนผลไม้หรือช่วยส่งเสริมทางด้านภาษาทำให้เด็กได้รู้ว่าผลไม้นี้ชนิดอะไร






วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 4 07/08/2010







การแบ่งประเภทสื่อประกอบด้วย


1.ประสบการณ์ตรง
   เป็นประสบการณ์ที่ให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์โดยตรงจากของจริงสถานการณ์จริงหรือด้วยการกระทำของ
ตนเอง เช่นการจับต้องและการเห็นเป็นต้น


2.ประสบการณ์รอง
     เป็นการเรียนจากสิ่งใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุดซึ่งอาจเป็นของจำลองหรือสถานการณ์จำลองก็ได้


3.ประสบการณ์นาฎการหรือการแสดง
   เป็นการแสดงบทบาทสมมติหรือการแสดงละครเพื่อเป็นการจัดประสบการณ์ให้แกผู้เรียน


4.การสาธิต
   เป็นการกระทำประกอบคำอธิบายเพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้นๆ


5.การศึกษานอกสถานที่
   เป็นการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ต่างๆภายนอกห้องเรียนอาจเป็นการท่องเที่ยวเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ


6.นิทรรศการ
   เป็นการจัดการแสดงสิ่งของต่างๆเพื่อให้สาระประโยชน์และความรู้แก่ผู้ชม


7.โทรทัศน์
   เป็นสื่อการเรียนการสอนเพื่อให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรืออยู่ทางบ้านและใช้ส่งได้ทั้งระบบวงจรเปิดและวงจรปิดการสอนอาจเป็นการสอนสดหรือบันทึกวิดีโอ


8.ภาพยนตร์
   เป็นภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์บันทึกลงฟิล์มเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์ทั้งภาพและเสียงโดยใช้ประสาทตาและหู


9.การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง
   เป็นได้ทั้งรูปของแผ่นเสียงหรือเทปบันทึกเสียง


10.ทัศนสัญลักษณ์
   เช่นแผนที่ แผนสถิติหรือเครื่องหมายต่างๆแทนความเป็นจริงของต่างๆ


11.วจรสัญลักษณ์
   เป็นประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมเช่นตัวหนังสือในภาษาเขียนและเสียงของคำพูดในภาษาพูด

ตามแนวคิดของบรูเนอร์ ( Jerome s. Bruner )
  • กลุ่มการกระทำ ( Enactive )
  • กลุ่มภาพ ( Iconic )
  • กลุ่มนามธรรม ( Abstracs )





สรุปหลักการในการเลือกสื่อการสอน
  1. เลือกสื่อการสอนที่เพื่อสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้
  2. เลือกสื่อการสอนที่ตรงลักษณะของเนื้อหาของบทเรียน
  3. เลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน
  4. เลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับจำนวนของผู้เรียนและกิจกรรมการสอน
  5. เลือกสื่อการสอนที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
  6. เลือกสื่อการสอนที่มีลักษณะน่าสนใจและดึงดูดความน่าสนใจ
  7. เลือกสื่อการสอนที่มีวิธีการใช้งานเก็บรักษาและบำรุงรักษาได้สะดวก